A
Study of Ability to Create the Art of Dancing Fortune Tithed ASEAN Show of
Grade 8
Students
by Using the Project-Based Learning
จารุวรรณ
สนิทรัมย์ (Jaruwan Sanitrum1) และ ปริณ ทนันชัยบุตร (Prin
Tanunchaibutra2)
1) สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Department
of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Khon Kaen University.
2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Asst.
Prof., Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Khon
Kaen University
__________________________________________________________________
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำ เรื่องศิลปะการแสดงอาเซียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ให้มีนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ70
มีความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำอยู่ในระดับดีขึ้นไป และ 2) ศึกษาความสามารถในการจัดทำโครงงานเรื่อง ศิลปะการแสดงอาเซียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ให้มีนักเรียนร้อยละ
70 มีความสามารถในการจัดทำโครงงานร้อยละ 70 ขึ้นไป
กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนวิชานาฏศิลป์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
2 จำนวน 21 คน รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น
(Pre-Experimental Design) รูปแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวมีการวัดผลหลังเรียน
(One shot case study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือในการทดลองได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดเรียนรู้แบบโครงงาน
จำนวน 7 แผน รวมทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง และ
2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำและแบบประเมินโครงงาน
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลจากการวิจัยพบว่า
1. ด้านความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำ เรื่อง ศิลปะการแสดงอาเซียน นักเรียนจำนวน
19 คน คิดเป็นร้อยละ 90.47 มีความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำอยู่ในระดับดี
คิดเป็นร้อยละ 76.90 ของคะแนนเต็ม ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด
2.
ด้านความสามารถในการจัดทำโครงงาน เรื่อง ศิลปะการแสดงอาเซียน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย
24.38ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 87.07 และมีนักเรียนจำนวน
20 คน คิดเป็นร้อยละ 95.23 ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ
ร้อยละ 70
คำสำคัญ
: การประดิษฐ์ท่ารำ ศิลปะการแสดง การแสดงอาเซียน โครงงาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วารสารศึกษาศาสตร์
ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
18 ปีที่ 9 ฉบับที่
3 ประจำเดือน กรกฎาคม - กันยายน 2558
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น