วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

ครูอาชีพกับอาชีพครู

ความสำคัญของวิชาชีพครู

 




                   อาชีพครู วิชาชีพครู งานที่มีเกียรติและเป็นงานที่สร้างคนให้กับสังคม ครู คือบุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถและเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน ปัจจุบันบุคคลที่จะทำอาชีพนี้จะต้องได้ใบประกอบวิชาชีพครูด้วยคล้ายๆกับหมอ ความหมายของคำว่าครู                 
       คำว่า “ครู” มีความหมายลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก แต่ถ้าดูจากรากศัพท์ ภาษาบาลีว่า “ครุ” หรือ ภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” นั้น มีความหมายว่า “ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ควรได้รับการเคารพ” ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “ครู” ไว้หลายประการ เช่น “ครู” คือ ผู้ทำหน้าที่สอนและให้ความรู้แก่ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์เกิดความรู้ ความก้าวหน้าในสาขาวิชานั้น ๆ ยนต์ ชุ่มจิต (2541: 29) ได้อธิบายคำว่า “ครูดังนี้ 
1. ครู เป็นผู้นำทางศิษย์ไปสู่คุณธรรมชั้นสูง 
2.ครู คือ ผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นผู้มีความหนักแน่น ควรแก่การเคารพของลูกศิษย์
        3. ครู คือผู้ประกอบอาชีพอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่สอน มักใช้กับผู้สอนในระดับต่ำ กว่าวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา 
นอกจากนี้ คำว่า “ครู” ยังมีความหมายอื่น ๆ ได้อีก เช่น
        1. “ครู คือ ปูชนียบุคคล” หมายถึง ครูที่เสียสละ เอาใจใส่เพื่อความเจริญของศิษย์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ควรเคารพเทิดทูน 
        2. “ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ” หมายถึง การเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์ที่จะ ปฏิบัติตัวตามอย่างครู 
        3. “ครู คือ ผู้แจวเรือจ้าง” หมายถึง อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดความ ร่ำรวย ครูต้องมีความพอใจในความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบร้อยอย่าหวั่นไหวต่อลาภยศความ สะดวกสบาย
        โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ครู คือ ผู้ที่ทำหน้าที่สอนให้ศิษย์เกิดความรู้ และมี คุณธรรม จริยธรรมที่ดี นำประโยชน์ให้แก่สังคมได้ในอนาคต
ความสำคัญของวิชาชีพครู    

       หน้าที่และความรับผิดชอบของครู 
        1. สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์ ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับครู ครูที่ดีต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
        2. แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ศิษย์ เพื่อช่วยให้ศิษย์ของตนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ครูต้องคำนึงถึงสติปัญญา ความสามารถ และความถนัดของบุคลิกภาพของศิษย์ด้วย
        3. พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ โดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตร
        4. ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ เพื่อจะได้ทราบว่า ศิษย์ได้พัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดแล้ว การประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
        5. อบรมคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ เพื่อศิษย์จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันหน้า
        6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติครูและจรรยาบรรณครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
        7. ตรงต่อเวลา โดยการเข้าสอนและเลือกสอนตามเวลา ทำงานสำเร็จครบถ้วนตามเวลาและรักษาเวลาที่นัดหมาย
        8. ปฏิบัติงาน ทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
        9. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของคน โดยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอครูไทยในสมัยกรุงสุโขทัยถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือพระภิกษุ สมัยนั้นภาระหน้าที่ของพระภิกษุที่เป็นครู คือต้องบิณฑบาตมาเลี้ยงดูศิษย์อบรมศิษย์ในทางศาสนานอกจากนั้นครูจะสอนเขียนอ่านหนังสือไทยและบาลีกิจกรรมในแต่ละวันจะแสดงให้ทราบถึงหน้าที่ของพระที่เป็นครูคือในช่วงเช้าหลังจากที่ท่านฉันข้าวเสร็จ มีการเรียนเขียนอ่าน ต่อหนังสือ ท่องบ่น ตอนก่อนเพล เด็กก็จะต้องเตรียมการให้พระฉันเพลหลังอาหารกลางวันเด็กก็ฝึกหัดเขียน อ่าน ท่องบ่น พระก็จำวัด พอถึงเวลาบ่าย 1 โมง หรือ 2 โมง
พระก็ตื่นนอนมาตรวจให้และสอบดูผู้เขียนอ่านไปตอนเช้าว่าถูกต้องเพียงใด คนที่แม่นยำก็ได้เรียนต่อเติมขึ้นไป บางแห่งมีการตรวจสอบในตอนเช้า ตอนบ่ายจึงเรียนเขียนอ่านต่อ ถ้าใครเกียจคร้านก็จะถูกตีด้วยไม้ บ่าย 4 โมงครึ่ง หรือ 5 โมง จึงเลิกเรียน วันหยุดเรียนได้แก่วันพระ และวันที่มีพิธีต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507 ). 

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://aoysireeras.blogspot.com/2012/05/blog-post_26.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น