เทคโนโลยีการศึกษา
คณะกรรมการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา
(AECT, 1979) อธิบายว่า “เทคโนโลยีการศึกษา”
(Educational Technology) เป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการอย่างซับซ้อน
เกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา
สร้าง ประยุกต์ใช้ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ
หรืออาจกล่าวได้ว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” และขั้นตอนการแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่ได้มีการออกแบบ เลือก
และนำมาใช้เพื่อใช้ เพื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมาย คือ การเรียนรู้ นั่นเอง
จากความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา
ดังกล่าว ข้างต้น ได้มีการขยายแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาเพราะการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจาก
การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
มาสู่ พุทธิปัญญานิยม (Cognitivism) และคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivism) กอปรทั้งความ เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้มี การปรับเปลี่ยนความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลง
(สุมาลี ชัยเจริญ, 2551) ดังนี้
เทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีการสอน
(Instructional Technology) หมายถึงทฤษฎี และการปฏิบัติเกี่ยวกับ การออกแบบ
การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมินของกระบวนการและแหล่งเรียนรู้ สาหรับการเรียนรู้
(Seels, 1994)
จากนิยามข้างต้นจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา
ไม่ได้มีขอบเขตของสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้องกับการออกแบบหรือผลิตสื่อการสอนเท่านั้น แต่ยังมีขอบเขตที่กว้างขวางที่ครอบคลุมถึง
การนำเทคนิค วิธีการ ตลอดจนทั้งสิ่งประดิษฐ์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
มาตรฐานหรือขอบข่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาที่นักการศึกษา
หรือผู้ที่ทำงานด้าน การศึกษาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้จักและทำความเข้าใจ เพราะจะช่วยให้เราสามารถกำหนด
สร้างสรรค์และระบุขอบข่ายงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่ง
International Society for technology in education (ISTE) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักสำคัญได้พัฒนาและกำหนดมาตรฐานที่
สำคัญสำหรับครูและผู้เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาว่าต้องรู้อะไรบ้าง ซึ่งหน่วยงานดังกล่าว
ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อกำหนดประเด็นต่างๆด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยจะมีทั้งมาตรฐานสำหรับครูว่าจะต้องมีทักษะ ความรู้ และใช้เทคโนโลยีสนับสนุนผู้เรียนอย่างไร
ตลอดจนมาตรฐานของผู้เรียนที่จะต้องมีทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
องค์กรทางวิชาชีพของนักเทคโนโลยีการศึกษาที่สำคัญอีกองค์กร
คือ
Association for educational communication and technology (AECT) ได้พัฒนามาตรฐานที่เป็นแนวทางสำหรับครูด้านเทคโนโลยีการศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ซึ่ง Barbara และ Rita (1994 อ้างถึงในสุมาลี
ชัยเจริญ, 2551) ได้อธิบายนิยามดังกล่าวของเทคโนโลยีการศึกษา
คือ ทฤษฎีและการปฏิบัติในขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบ การพัฒนา การใช้การจัดการ
และประเมินผล ของกระบวนการและแหล่งการเรียนสำหรับการเรียนรู้ ดังจะเห็นความสัมพันธ์ของขอบข่ายทั้ง
5 ได้แก่ การออกแบบ (Design) การพัฒนา
(Development) การใช้ (Utilization) การจัดการ
(Management) และการประเมิน (Evaluation) ดังแสดงไว้ในภาพและมี
รายละเอียดดังนี้
รายละเอียดดังนี้
ภาพที่
1-1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
(สุมาลี ชัยเจริญ, 2551)
ตารางที่
1.1 แสดงการเปรียบเทียบองค์ประกอบต่างๆในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
ขอบข่ายหลักและขอบข่ายย่อยของเทคโนโลยีการศึกษา
|
||||
การออกแบบ
|
การพัฒนา
|
การใช้
|
การจัดการ
|
การประเมินผล
|
- การออกแบบระบบการสอน
- การออกแบบสาร
- กลยุทธ์การสอน
- คุณลักษณะของผู้เรียน
|
- เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์
- เทคโนโลยีด้านโสตทัศน์
- เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
- เทคโนโลยีบูรณาการ
|
- การใช้สื่อ
- การเผยแพร่นวัตกรรม
- การนาไปใช้สาหรับตนเองและในสถานศึกษา
- นโยบายและกฎระเบียบ
|
- การจัดการโครงการ
- การจัดการทรัพยากร
- การจัดการระบบขนส่ง
- การจัดการสารสนเทศ
|
- การวิเคราะห์ปัญหา
- การวัดตามเกณฑ์
- การประเมินระหว่างกระบวนการ
- การประเมินแบบองค์รวม
|
เทคโนโลยีการศึกษาในโลกแห่งอนาคต
ขอบคุณข้อมูลจาก
ผศ.ดร.อิศรา ก้านจักร สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
www.YouTube.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น