มาตรฐานวิชาชีพครู
มาตรฐานความรู
มีคุณวุฒิไมต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเทา
หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภา รับรอง โดยมีความรูดังต่อไปนี้
1. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
2. การพัฒนาหลักสูตร
3. การจัดการเรียนรู้
4. จิตวิทยาสำหรับครู
5. การวัดและประเมินผลการศึกษา
6. การบริหารจดการในห้องเรียน
7. การวิจัยทางการศึกษา
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
9. ความเป็นครู
มาตรฐานที่ 1 ภาษาและเทคโนโลยี
สาระความรู้
1) ภาษาไทยสำหรับครู
2) ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ สำหรับครู
3) เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
สมรรถนะ
1) สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาไทย เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง
2) สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ
หรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง
3) สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน
ทักษะภาษาไทยและภาษาอังกฤษนั้นมีการแบ่งทักษะทางภาษาคล้ายคลึงกัน
คือ แบ่งเป็น 4ทักษะ
คือ ทักษะการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน
- ทักษะการฟัง
ครูต้องฟังอย่างมีวิจารณญาณ
- ทักษะการพูด
นับได้ว่าเป็นทักษะที่มีความสำคัญกับผู้ที่จะประกอบวิชาชีพครูมาก
ครูควรพูดชัดถ้อยชัดคำ พูดถูกหลักภาษา ในภาษาไทยก็ต้องพูดเสียงควบกล้ำต่างๆชัดเจน
- ทักษะการอ่าน
ครูต้องมีการขวนขวายในการอ่านเนื้อหาสาระเพิ่มเติมอยู่เสมอ
- ทักษะการเขียน
ครูต้องมีทักษะในการใช้กระดาน เวลาเขียนกระดานลำตัวจะต้องไม่บังเด็ก
และต้องฝึกการเขียนให้มีความสวยงามและเขียนคำศัพท์ต่างๆอย่างถูกต้องด้วย
นอกจากนี้ในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ครูจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษามือ และอักษรเบลล์ เพื่อจะสามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้
และครูต้องเป็นผู้แนะแนวและเป็นผู้วิจัยไปพร้อมๆกันเพื่อพัฒนาพัฒนาการของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับเทคโนโลยีนั้นจะนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการด้านการสอนของครู
เพื่อให้การสอนในห้องเรียนเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
ครูจึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีด้วย
เพื่อที่จะนำมาใช้ทำสื่อประกอบการสอน
เพื่อที่จะให้เด็กเกิดความรู้อย่างเต็มศักยภาพ
มาตรฐานที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตร : กรอการทำการจัดการเรียนการสอน สามารถแบ่งหลักสูตรออกได้เป็น
๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรแกนกลาง : เป็นตัวกำหนดว่าเด็กจะต้องมีการเรียนรู้อะไรบ้าง หลักสูตรจึงเป็นเหมือนกรอบกำหนดความรู้ที่ควรได้รับในแต่ละช่วงอายุ
โดยจะกำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้
หลักสูตรสถานศึกษา :
สถานศึกษาต้องนำโครงสร้างของหลักสูตรแกนกลางไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา
โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
นอกจากนี้สถานศึกษาสามารถจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ
และความแตกต่างระหว่างบุคคล
หลักสูตรแบบต่างๆ
หลักสูตรรายวิชา (The Subject Curriculum) โครงสร้างของเนื้อหาวิชาในหลักสูตร
จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
หลักสูตรกว้าง (The
Broad-Field Curriculum) มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้การเรียนการสอนเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเร้าใจ
ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะ
หลักสูตรบูรณาการ (The Integrated Curriculum)
หลักสูตรแกนเป็นหลักสูตรบังคับให้ทุกคนต้องเรียน
อาจเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแม่บท หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้
จุดเน้นของหลักสูตรจะอยู่ที่วิชาหรืสังคมก็ได้
แต่ส่วนใหญ่จะเน้นสังคมโดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคม
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ แนวคิดในการพัฒนานั้นเริ่มต้นจากคำถามพื้นฐาน
๔ คำถามดังต่อไปนี้
๑. จุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่สถานศึกษาต้องการ
๒.
ประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สามารถจัดได้และสนองตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
๓. ประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นจะจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
๔.
จะประเมินได้อย่างไรว่าประสบการณ์การศึกษาที่จัดให้นั้นได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด
โดยมีรูปแบบการพัฒนามี 3 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
2. การเลือกประสบการณ์การเรียน: จัดลำดับก่อน-หลัง
3. การประเมินผล
การพัฒนาหลักสูตรนั้น จะต้องมีความสอดคล้องกับสภาพของสังคม
พัฒนาการของผู้เรียน ความเหมาะสม มีการบูรณาการของประสบการต่างๆ
มีการประเมินผลในขั้นสุดท้าย
การพัฒนาจะต้องมีระบบและต้องอาศัยการพัฒนาอย่างจริงจัง
มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร
อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ
เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร
จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ
เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน
หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน
หลักการจัดการเรียนรู้
1. เด็กทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
2. การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดแค่การเรียนในห้องเรียน
แต่การเรียนรู้สามารถเกิดได้ในทุกที่
3. การเรียนรู้ต้องตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
4. การเรียนรู้ต้องคำนึงว่าเด็กทุกคนย่อมมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
ต้องเน้นการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อที่จะให้เด็กแสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่
5. ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
มีการบูรณาการกับชีวิตประจำวัน
6. การเรียนรู้ต้องเกิดความรู้ใหม่
ทฤษฎีการเรียนรู้
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral
Theory) การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ
เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง
ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
หรือแบบสิ่งเร้า
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory) การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ
การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล
ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง
ประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต
เกณฑ์ในการประเมินผล : วัดประเมินตามสภาพจริง
มาตรฐานที่ 4 จิตวิทยาสำหรับครู
จิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์
ทฤษฎีของพีอาร์เจ มี 4 ระยะคือ
1. ระยะการรับสัมผัส
2. ระยะเตรียมการทางสมอง
: เหตุผล
3. ระยะเรียนรู้รูปธรรม
: รู้จักเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ
4. ระยะเรียนรู้สิ่งที่เป็นมโนธรรม
ทฤษฎีของฟรอยด์ มี 5 ระยะ คือ
1. ขั้นปาก
:เด็กจะมีความสุขอยู่ที่การใช้ปาก
2. ขั้นทวารหนัก
: ความสุขอยู่ที่การใช้ทวารหนัก
3. ขั้นอวัยวะเพศ
: ความสุขอยู่ที่การผูกพันกับพ่อแม่
4. ขั้นแฝง
: ความสุขอยู่ที่การเก็บกดทางเพศ
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม
: ความสุขอยู่ที่การสนใจเพศตรงข้าม
จิตวิทยาการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ช่วยให้ครูสามารถนำหลักจิตวิทยาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน
เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วน 2 ส่วนที่สำคัญ คือ การเรียนรู้และการจูงใจ การจูงใจ
จะช่วยในการโน้มน้าวใจให้เขาอยากเรียนมากขึ้น เมื่อเขาได้ทำในสิ่งที่เขาชอบ
เขาก็จะเกิดความรู้สึกอยากที่จะเรียนขึ้นมา ครูก็ต้องพยายามที่จะหาวิธีโน้มน้าวใจ
ให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้ให้มากที่สุด อาจแบ่งได้ 3 ระยะ คือ
1. ระยะความสนใจ
2. ระยะความสำเร็จ
3. ระยะเครื่องล่อใจ
การแนะแนว หมายถึง
การช่วยเหลือบุคคลให้ช่วยเหลือตนเองได้ ช่วยบุคคลให้เลือกวิธีการแก้ปัญหา
สามารถปรับตัวได้ โดยครูจะเป็นเพียงผู้ที่แนะนำเท่านั้น
แต่ผู้ที่จะต้องตัดสินใจก็คือตัวเด็กเอง
ครูต้องคำนึงเสมอว่าเด็กทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล
ดังนั้นปัญหาที่เกิดกับเด็กแต่ละคนก็ย่อมที่จะแตกต่างกัน
ครูก็ต้องช่วยหาทางแก้ไขปัญหาให้กับเด็กในหลายรูปแบบ เนื่องจากมนุษย์มีลักษณะ ดังนี้
1. มนุษย์มีความแตกต่างกัน
2. มนุษย์ต้องการความช่วยเหลือ
3. พฤติกรรมต่างๆต้องมีสาเหตุ
4. มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี
5. มนุษย์มีคุณค่า
6. ความสุขมาจากการพัฒนาทุกด้าน
ขอบข่าย จิตวิทยาการศึกษา มีดังนี้
1. จิตวิทยาการศึกษา
2. จิตวิทยาการอาชีพ
3. จิตวิทยาการแนะแนวสังคม
มาตรฐานที่ 5 การวัดและประเมินผลทางการศึกษา
การวัดผล หมายถึง
กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลข
หรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะหรือคุณภาพของสิ่งที่วัด
โดยใช้เครื่องที่มีประสิทธิภาพหารายละเอียดสิ่งที่วัดว่ามีจำนวนหรือปริมาณเท่าใด
การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการพิจารณาหรือตัดสินคุณค่าของสิ่งของหรือการกระทำ
โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันได้ และในการตัดสินคุณค่าดังกล่าว
มักจะใช้ผลการจากการวัดเป็นข้อมูลพื้นฐานเสมอ
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง
การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ
ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ
โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม
เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ
ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์
เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนด
การวัดและประเมินผลทางการศึกษาจะต้องไม่เน้นการสอบเพียงอย่างเดียว
แต่ควรจะประเมินผลตามสภาพจริง เน้นการปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย
ไม่ควรที่จะแยกการวัดและการประเมินออกจากกิจกรรมการสอนในชั้นเรียน
การประเมินผลการเรียนรู้ต้องนำไปสู่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวผู้เรียนรอบด้าน
โดยต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
และการเลือกใช้เครื่องมือวัดขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการประเมิน
1.การประเมินเพื่อวินิจฉัยผู้เรียน (ก่อนเรียน) เพื่อค้นหาความพอเพียงของความรู้และความสามารถ
2. การประเมินเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการเรียนการสอน
(ระหว่างเรียน)
มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุถึงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่เพียงใด
3. การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน (หลังเรียน) มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถประยุกต์ความรู้ได้เพียงใด สมควรผ่านรายวิชานั้นหรือไม่
การประเมินแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. Performance Evaluation เป็นการประเมินผู้เรียน
โดยวัดตามสภาพจริง โดยอาศัยการปฎิบัติ เกณฑ์ที่ใช้ต้องคำนึงว่าสิ่งที่จะวัดใช้ได้จริง
เน้นการวัดแบบปฎิบัติงาน
2. Summative Evaluation เป็นการประเมินผลรวมสรุป
มุ่งที่จะหาข้อมูลข่าวสารเพื่อสรุปว่า ผู้เรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของครูผู้สอน โดยเฉพาะการให้ระดับคะแนนแก่ผู้เรียนต่อไป
3. Formative Evaluation เป็นการประเมินว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
ถ้าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็อาจจัดให้มีการซ่อมเสริม เป็นต้น
มาตรฐานที่ 6 การบริหารจัดการห้องเรียน
การบริหารจัดการห้องเรียน หมายถึง การจัดการกระบวนการทำงาน
ประกอบด้วย การวางแผน (planning) การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ การนำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
การควบคุม เป็นการจัดระเบียบเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยครูจะต้องเข้าใจผู้เรียน
มีการเตรียมพัฒนาผู้เรียน ใช้สื่อการเรียนที่เหมาะสม มีการเตรียมการประเมิน
ครูจะต้องสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนได้
ต้องมีการเข้าใจว่าผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน
แปรความหวังของครูไปเป็นระเบียบกฎเกณฑ์การจัดห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้น
จะต้องจัดระเบียบ วางแนวการจัดห้องเรียนที่ดี อาศัยการเริ่มต้นในช่วงแรกให้ดี และปฏิบัติอย่างนั้นมาตลอด
จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมาย ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
เพื่อให้เด็กมีการเรียนรู้มากที่สุด
แนวทางการจัดการห้องเรียน
ครูต้องกำหนดข้อควรปฏิบัติให้แก่ผู้เรียน มีการอธิบายรายละเอียดของงานอย่างเป็นระบบ ครูต้องกำกับดูแลความเรียบร้อยของห้องเรียนให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และให้เด็กมีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
มาตรฐานที่ 7 การวิจัยทางการศึกษา
คำว่า "การวิจัย" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า
"Research" Re มีความหมายว่า อีก Search แปลว่า
"การค้นหา" ดังนั้นคำว่า "การวิจัย: Research" จึงแปลว่า
การค้นหาแล้วค้นหาอีก ตัวแปร หมายถึง
สิ่งที่ผู้วิจัยสนใจที่จะวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลออกมาในรูปใดรูปหนึ่ง
และคุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น
เพศชายและเพศหญิง
ประเภทของตัวแปร
ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) เป็นตัวแปรที่แตกต่างกันในระหว่างพวกเดียวกันหรือค่าที่แปรออกมาแตกต่างกันออกไปตามความถี่จำนวนปริมาณมากน้อยหรือลำดับที่
ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualitative Variables) เป็นตัวแปร
ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันในแง่ของชนิดหรือประเภทโดยใช้ชื่อเป็นภาษาที่แสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง
ๆ
ตัวแปรค่าต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องกันตลอด
เช่น ส่วนสูง
ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง(Discrete Variables) ตัวแปรประเภทนี้มีค่าเฉพาะตัวของมัน
แยกออกจากกันเด็ดขาดวัดค่าเป็นจำนวนเต็ม
ตัวแปรที่กำหนดได้(Active Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่น
วิธีสอน
ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็นลักษณะของผู้รับการทดลอง
มาตรฐานที่ 8 เทคโนโลยีและนวัตกรรม
เทคโนโลยีทางการศึกษา
ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและใช้ร่วมกับกระบวนการทางการศึกษาจิตวิทยา
ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้
นวัตกรรม คือ การนำวิธีใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง
หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว มี 3 ระยะ
คือ
1.ระยะการคิดค้น (Invention)
2.ระยะการพัฒนา (Development)
3.ระยะนำมาปฏิบัติจริง
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรม
ต้องคำนึงถึง
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Different)
2. ความพร้อม (Readiness)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
ลำดับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มี 9 ระยะ คือ
1. สร้างกรอบแนวคิด
2. วิเคราะห์หลักสูตร
3. กำหนดวัตถุประสงค์
4. กำหนดคุณลักษณะสื่อการสอน
5. การสำรวจทรัพยากรการผลิต
6. ออกแบบสื่อการสอน
7. วางแผนและดำเนินการผลิต
8. ตรวจสอบคุณภาพ
9. สรุปและประเมินผล
นวัตกรรมในด้านต่างๆ แบ่งนวัตกรรมออก 5 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ
ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ
ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล
3. นวัตกรรมสื่อการสอน หมายถึง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม นำมาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ
จำนวนมากมาย ได้แก่
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
- มัลติมีเดีย (Multimedia)
- การประชุมทางไกล (Teleconference)
- ชุดการสอน (Instructional Module)
- วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive
Video)
4. นวัตกรรมการประเมินผล เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ หมายถึง การใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ
เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์
ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
E-learning เป็นการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิค สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ทุกคน
ห้องเรียนเสมือนจริง อาศัยสื่ออิเล็คทรอนิก และคอมพิวเตอร์ มี 2 รูปแบบ คือ การศึกษาทางไกล
และการจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสื่อมัลติมีเดีย เช่น
ข้อความอิเล็คทรอนิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
มาตรฐานที่ 9 ความเป็นครู
ความสำคัญของวิชาชีพครู ครู คือ บุคคลที่สั่งสอนอบรมวิชาความรู้ต่าง
ๆ นอกจากนั้นแล้วครูจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ต่อสุขทุกข์ของศิษย์ ความเจริญก้าวหน้าของศิษย์และคอยปกป้องมิให้ศิษย์กระทำความชั่วต่าง ๆ
อีกด้วย
นอกจากนั้นครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติอย่างยิ่งเพราะครูเป็นทั้งผู้สร้าง และผู้กำหนดอนาคตของเยาวชน สังคมและประเทศชาติ ให้พัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการและถูกต้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://education.dusit.ac.th/QA/articles/doc02.pdf
www.Youtube.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น