วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

คุณค่าที่ได้รับจากนาฏศิลป์ไทย


คุณค่าที่ได้รับจากนาฏศิลป์ไทย

           นาฏศิลป์ถือเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของมนุษยชาติ ควรที่มนุษย์ควรรู้จัก เข้าใจศึกษา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แก่ผู้อื่น และแก่สังคมโดยส่วนรวม โดยพิจารณาว่า นาฏศิลป์มีส่วนใดบ้างในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งที่เป็นกิจกรรมส่วนตัวและส่วนรวมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ได้ใช้นาฏศิลป์เป็นกิจกรรมส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตในเวลาปกติ และในโอกาสพิเศษอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจสรุปได้ว่า มนุษย์เราได้รับคุณค่าจากนาฏศิลป์ไทย ดังนี้
          ๑.เพื่อการสื่อสาร นาฏศิลป์เป็นกระบวนการหนึ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร ธรรมชาติเอื้อให้มนุษย์ใช้ร่างกายประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้การเล่าเรื่องตื่นเต้นสนุกสนาน นาฏศิลป์ได้พัฒนาต่อมาโดยที่มนุษย์เลือกสรรและสร้างสรรค์ท่าทางต่างๆ ให้มีความหมายเฉพาะที่เข้าใจและสื่อสารกันได้ในกลุ่มชนนั้นๆ หรืออาจกล่าวได้ว่านาฏศิลป์ได้พัฒนาจากรูปลักษณ์ที่ง่าย และเป็นส่วนประกอบของคำพูดหรือวรรณศิลป์ ไปสู่การสร้างภาษาของตนเองขึ้นที่เรียกว่า“ภาษาท่ารำ”โดยกำหนดกันในกลุ่มชนที่ใช้นาฏศิลป์นั้นๆว่าท่าใดมีความหมายอย่างไร
          ๒. เพื่องานพิธีกรรมต่างๆ นาฏศิลป์ใช้เป็นเครื่องดนตรีที่พลังพิเศษ หรือเป็นอำนาจเหนือธรรมชาติในตัวเองของผู้ทำหน้าที่เป็นพ่อมดหรือหมอผี หรืออีกนัยหนึ่งคนเหล่านี้ใช้นาฏศิลป์สื่อสารกับพลังเหนือธรรมชาติให้เข้ามาสิงสถิตในตนเองหรือผ่านตนไปยังสิ่งที่ต้องการรับอิทธิพลเหล่านั้นการฟ้อนรำในลักษณะนี้มักเป็นการแสดงเดี่ยว แต่ในบางครั้งบางแห่งก็มีการแสดงเป็นกลุ่ม การฟ้อนรำในพิธีผีฟ้าในภาคเหนือ เพื่อรักษาโรคหรือสะเดาะเคราะห์ จะเริ่มด้วยพิธีกรหญิงฟ้อนนำในลักษณะเข้าทรง แล้วผู้ที่เคยรักษาหายมาก่อนซึ่งมักมาร่วมงานเพื่อร่วมให้พลังใจก็จะลุกขึ้นรำตาม ฟ้อนผีมดผีเม็งในภาคเหนือจะมีบรรดาสมาชิกหญิงมาเข้าทรงเป็นหมู่และฟ้อนรำร่วมกัน เพื่อสะเดาะเคราะห์หรือรักษาโรค และพิธีกรรมอีกลักษณะหนึ่ง คือ การฟ้อนรำเพื่อบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยมิได้เข้าทรง แต่เป็นการแสดงที่เน้นความงดงาม เช่น การรำแก้บนที่ศาลพระพรหมแยกราชราชประสงค์ การแสดงเหล่านี้เป็นการแสดงแก้บนซึ่งอาจเป็นรูปของการแสดงแก้บน ลิเกแก้บน และการฟ้อนรำ อีกลักษณะหนึ่งเป็นการฟ้อนรำบูชาแต่ไม่ได้แก้บนใดๆ แต่เป็นการฟ้อนบูชาครู หรือเป็นพุทธบูชา เช่นการรำถวายมือในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย หรือการรำไหว้ครูมวยก่อนการชกเป็นต้น
           ๓. เพื่องานพิธีการต่างๆ ในสังคมหนึ่งย่อมมีพิธีการต่างๆ ของมนุษย์ แต่ละพิธีการมีความสัมพันธ์แตกต่างกันออกไป เช่น พิธีการต้อนรับแขกเมืองสำคัญ พิธีแห่เทวรูปที่เคารพประจำปีเพื่อเป็นสิริมงคล พิธีฉลองงานสำคัญเช่นงานวันเกิดงานวันครบรอบเป็นต้น พิธีที่กล่าวมานี้นิยมจัดให้มีการฟ้อนรำขึ้น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ การฟ้อนรำเป็นขบวนแห่ไปตามทางและการฟ้อนรำบนเวที ขบวนฟ้อนรำจะปรากฏในพิธีการ เช่น การฟ้อนบายศรีสู่ขวัญโดยเจ้านายฝ่ายเหนือทั้งชายและหญิงเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิธีฟ้อนรำแสดงชุดพระถังซัมจั๋งไปอัญเชิญพระไตรปิฏกจากอินเดียในงานตรุษจีนที่นครสวรรค์ การฟ้อนรำในพิธีเซิ้งบั้งไฟขอฝนทางภาคอีสาน การฟ้อนรำหน้าขบวนแห่นาค ประหนึ่งจำลองมารผจญพระพุทธเจ้าก่อนจะเข้าพระอุโบสถ การฟ้อนรำขันโตกเพื่อนำอาหารมาในพิธีขันโตกรับแขกสำคัญสำคัญของเมืองเหนือ ส่วนการฟ้อนรำบนเวที เช่น การรำอวยพรวันเกิด การรำเบิกโรงก่อนแสดงละคร และการฟ้อนรำในพิธีเปิดเทศกาลกีฬาต่างๆ
             ๔. เพื่อความบันเทิงและการสังสรรค์  มนุษย์มักมีการพบปะสังสรรค์กันในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ เช่น การจัดงานรื่นเริงตามฤดูกาล เพื่อเฉลิมฉลองเมื่อสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวอันเหน็ดเหนื่อย และเก็บเกี่ยวได้ผลดี หรือการฉลองเริ่มฤดูฝนอันเป็นนิมิตรแห่งการเริ่มต้นฤดูเพาะปลูก ในรอบปีหนึ่ง มีเทศกาลสำคัญหลายครั้ง อาทิ งานรำลึกถึงบรรพบุรุษ หรือเหตุการณ์สำคัญในอดีต งานรื่นเริงหรืองานรำลึกเหล่านี้มักจะมีการเฉลิมฉลองต่างๆ นาฏศิลป์ให้ความบันเทิงแก่ผู้มาร่วมงานต่างๆ เช่น การรำอวยพรในวันเกิด ในงานรื่นเริงต่างๆ
           ๕. เพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาบุคลิกภาพ การฝึกหัดรำไทยต้องอาศัยกำลังในการฝึกซ้อมและ ในการแสดงอย่างมาก เหมือนกับได้ออกกำลังกายอยู่ตลอดเวลา เป็นการกระตุ้นหรือบำบัดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้กระฉับกระเฉง ไม่เครียด เป็นการสร้างเสริมบุคลิกภาพและมีการทรงตัวที่สง่างามด้วย
          ๖. เพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ นาฏศิลป์เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชน ในชุมชนหนึ่งๆ มักมีการสืบทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมทางนาฏศิลป์ของตนเอาไว้มิให้สูญหาย มีการสอนมีการแสดงและเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้ท้องถิ่นอื่น หรือนำไปเผยแพร่ในต่างแดน

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=11816

ทำไมวิชานาฏศิลป์จึงมีความสำคัญต่อเด็กไทย

ทำไมวิชานาฏศิลป์จึงมีความสำคัญต่อเด็กไทย

การเรียนนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร
       1.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านร่างกาย ธรรมชาติของเด็กนั้นไม่ชอบอยู่นิ่ง แต่ชอบการเคลื่อนไหวร่างกายในการเดิน วิ่ง กระโดด ยักย้ายร่างกายไปมา ดังนั้น การที่เด็กได้ร่ายรำ ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ให้สอดคล้องกับทำนอง จังหวะและเสียงดนตรี ซึ่งเป็นเหมือนการออกกำลังกายไปในตัว ส่งผลให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงสมส่วน คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง
       2.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านอารมณ์ ขณะที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในการฟ้อนรำหรือเต้นระบำประกอบเพลงนั้น เด็กจะมีความสนุกสนาน ได้ปลดปล่อยความเครียด ส่งผลให้เด็กๆมีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส กล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเอง
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       3.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านสังคม กิจกรรมนาฏศิลป์เป็นสื่อหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เพราะการที่เด็กๆ ได้ร่ายรำ เล่นละคร แสดงการละเล่นพื้นเมืองร่วมกับเพื่อน เป็นการที่เด็กๆ ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในการเป็นผู้นำผู้ตาม และการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบท่าทางที่พร้อมเพรียงไปกับเพื่อนๆ นั้น ก็เป็นการหล่อหลอมความสามัคคีให้เกิดขึ้นในตัวของเด็กอีกด้วย
       4.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เช่น ในการฝึกให้เด็กๆ ฟ้อนรำนั้น เด็กๆ ต้องจดจำและแยกแยะท่าทางการรำแบบไทยให้ถูกต้อง เช่น ท่าจีบหงาย จีบคว่ำ ตั้งวง ตีไหล่ อีกทั้งต้องจดจำท่าทางต่างๆ ให้เข้ากับเนื้อร้องและจังหวะของเพลงอย่างถูกต้องแม่นยำและพรัอมเพรียงกับผู้อื่น จึงเป็นการช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาในเรื่องของความจำและการคิดวิเคราะห์โดยตรง
     
       ในปัจจุบันสำนักงานพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานฉบับใหม่ โดยลดหมวดหมู่วิชาเรียนจาก 8 หมวด คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาซีพและเทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ เหลือเพียง 6 หมวด โดยยกเลิกหมวดศิลปะ/ดนตรี/นาฏศิลป์ โดยเอาวิชาเหล่านี้ไปรวมอยู่ในหมวดสังคมและความเป็นมนุษย์
     
       ซึ่งตามความคิดเห็นของผู้เขียนเห็นว่า การจัดหมวดหมู่ของสาระวิชาเรียนใหม่อาจไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญเท่ากับการที่ “ยังคง” จัดให้เด็กๆ ได้เรียนวิชานาฏศิลป์อยู่ในโรงเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา เพราะนอกจากการเรียนนาฏศิลป์จะมีประโยชน์ต่อเด็กๆในการช่วยพัฒนาในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาดังที่กล่าวในข้างต้นแล้ว วิชานาฏศิลป์ยังช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสถึงความเป็นไทยที่นับวันจะหาได้ยากมากขึ้นผ่านการเรียนนาฏศิลป์ อันได้แก่ การร่ายรำทำจังหวะแบบไทยเดิม การขับร้องแบบไทย การบรรเลงดนตรีไทย การแต่งกายแบบไทย ซึ่งคือสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจที่ควรอนุรักษ์ให้ดำรงอยู่คู่กับประเทศชาติของเราสืบไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000137042

วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับวิชานาฏศิลป์

วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำ เรื่อง ศิลปะการแสดงอาเซียน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
A Study of Ability to Create the Art of Dancing Fortune Tithed ASEAN Show of Grade 8
Students by Using the Project-Based Learning
จารุวรรณ สนิทรัมย์ (Jaruwan Sanitrum1) และ  ปริณ ทนันชัยบุตร (Prin Tanunchaibutra2)
1) สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Khon Kaen University.
2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Asst. Prof., Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Khon Kaen University
__________________________________________________________________

บทคัดย่อ
          การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำ เรื่องศิลปะการแสดงอาเซียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ให้มีนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ70 มีความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำอยู่ในระดับดีขึ้นไป และ 2) ศึกษาความสามารถในการจัดทำโครงงานเรื่อง ศิลปะการแสดงอาเซียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ให้มีนักเรียนร้อยละ 70 มีความสามารถในการจัดทำโครงงานร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนวิชานาฏศิลป์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2 จำนวน 21 คน รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Design) รูปแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวมีการวัดผลหลังเรียน (One shot case study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือในการทดลองได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดเรียนรู้แบบโครงงาน จำนวน 7 แผน รวมทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำและแบบประเมินโครงงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
          ผลจากการวิจัยพบว่า
1. ด้านความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำ เรื่อง ศิลปะการแสดงอาเซียน นักเรียนจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 90.47 มีความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 76.90 ของคะแนนเต็ม ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด
          2. ด้านความสามารถในการจัดทำโครงงาน เรื่อง ศิลปะการแสดงอาเซียน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 24.38ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 87.07 และมีนักเรียนจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 95.23 ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ ร้อยละ 70
คำสำคัญ : การประดิษฐ์ท่ารำ ศิลปะการแสดง การแสดงอาเซียน โครงงาน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
18 ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กรกฎาคม - กันยายน 2558

ความสำคัญของนาฏศิลป์และประโยชน์ของนาฏศิลป์




ความสำคัญของนาฏศิลป์
          นาฏศิลป์เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าศิลปะแขนงอื่นๆ ความสำคัญของนาฏศิลป์สามารถกล่าวได้ดังนี้
          1. นาฏศิลป์แสดงความเป็นอารยประเทศ บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองดีก็ด้วยประชาชนมีความเข้าใจศิลปะ เพราะศิลปะเป็นสิ่งมีค่า เป็นเครื่องโน้มน้าวอารมณ์ โดยเฉพาะศิลปะการละคร มีความสำคัญสามารถกล่อมเกลาจิตใจหรือโน้มน้าวอารมณ์ไปในทางที่ดี เป็นแนวทางนำให้คิดและให้กำลังใจในการที่จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่บ้านเมืองสืบไป
          2. นาฏศิลป์เป็นแหล่งรวมศิลปะ ประกอบด้วยศิลปะประเภทต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องสอดคล้องกัน เช่น ศิลปะการเขียน การก่อสร้าง การออกแบบเครื่องแต่งกาย และวรรณคดี ศิลปะแต่ละประเภทได้จัดทำกันด้วยความประณีตสุขุม ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยศิลปะเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของชาติ มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาต้องมีศิลปะของตนไว้เป็นประจำนับแต่โบราณมาจนถึงทุกวันนี้ รวมความว่านาฏศิลป์มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น สร้างความเป็นแก่นสารให้แก่บ้านเมืองด้วยกันทั้งนั้น 


ประโยชน์ของนาฏศิลป์ 
         การเรียนนาฏศิลป์มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 
                1. เพื่อเป็นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยทางศิลปะแก่ผู้เรียน 
                2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น 
                3. เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป
                4. เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักกล้าแสดงออก 

        การเรียนนาฏศิลป์ทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้ 
1. ทำให้เป็นคนรื่นเริงแจ่มใส 
2. มีความสามัคคีในหมู่คณะ 
3. สามารถยึดเป็นอาชีพได้ 
4. ทำให้รู้จักดนตรีและเพลงต่าง ๆ 
5. ทำให้เกิดความจำและปฏิภาณดี 
6. ช่วยให้เป็นคนที่มีท่าทางเคลื่อนไหวสง่างาม 
7. ช่วยในการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี 
8. ได้รับความรู้นาฏศิลป์จนเกิดความชำนาญ สามารถปฏิบัติได้ดีมีชื่อเสียง 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0600001Saran/unit04/unit04_02.htm





วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

นาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์

นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ และเป็นมรดก หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียกว่า "ศิลปะของการร้องรำทำเพลง"

 การศึกษานาฏศิลป์ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ อันประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์ นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้ว ยังเป็นเสมือนแหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ในการที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบต่อไป





ตัวอย่างการแสดงนาฏศิลป์   "รำแม่บท"




ขอขอบคุณภาพจาก  Facebook: Toei Kitiya
ขอขอบคุณภาพคลิปวิดีโอจาก : YouTube

เทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา




           คณะกรรมการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (AECT, 1979) อธิบายว่า เทคโนโลยีการศึกษา” (Educational Technology) เป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการอย่างซับซ้อน เกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา สร้าง ประยุกต์ใช้ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ หรืออาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาและขั้นตอนการแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่ได้มีการออกแบบ เลือก และนำมาใช้เพื่อใช้ เพื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมาย คือ การเรียนรู้ นั่นเอง
จากความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ดังกล่าว ข้างต้น ได้มีการขยายแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาเพราะการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) มาสู่ พุทธิปัญญานิยม (Cognitivism) และคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) กอปรทั้งความ เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้มี การปรับเปลี่ยนความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลง (สุมาลี ชัยเจริญ, 2551) ดังนี้
          เทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) หมายถึงทฤษฎี และการปฏิบัติเกี่ยวกับ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมินของกระบวนการและแหล่งเรียนรู้ สาหรับการเรียนรู้ (Seels, 1994)
จากนิยามข้างต้นจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา ไม่ได้มีขอบเขตของสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้องกับการออกแบบหรือผลิตสื่อการสอนเท่านั้น แต่ยังมีขอบเขตที่กว้างขวางที่ครอบคลุมถึง การนำเทคนิค วิธีการ ตลอดจนทั้งสิ่งประดิษฐ์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
          มาตรฐานหรือขอบข่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาที่นักการศึกษา หรือผู้ที่ทำงานด้าน การศึกษาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้จักและทำความเข้าใจ เพราะจะช่วยให้เราสามารถกำหนด สร้างสรรค์และระบุขอบข่ายงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่ง International Society for technology in education (ISTE) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักสำคัญได้พัฒนาและกำหนดมาตรฐานที่ สำคัญสำหรับครูและผู้เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาว่าต้องรู้อะไรบ้าง ซึ่งหน่วยงานดังกล่าว ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อกำหนดประเด็นต่างๆด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะมีทั้งมาตรฐานสำหรับครูว่าจะต้องมีทักษะ ความรู้ และใช้เทคโนโลยีสนับสนุนผู้เรียนอย่างไร ตลอดจนมาตรฐานของผู้เรียนที่จะต้องมีทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
          องค์กรทางวิชาชีพของนักเทคโนโลยีการศึกษาที่สำคัญอีกองค์กร คือ Association for educational communication and technology (AECT) ได้พัฒนามาตรฐานที่เป็นแนวทางสำหรับครูด้านเทคโนโลยีการศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่ง Barbara และ Rita (1994 อ้างถึงในสุมาลี ชัยเจริญ, 2551) ได้อธิบายนิยามดังกล่าวของเทคโนโลยีการศึกษา คือ ทฤษฎีและการปฏิบัติในขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบ การพัฒนา การใช้การจัดการ และประเมินผล ของกระบวนการและแหล่งการเรียนสำหรับการเรียนรู้ ดังจะเห็นความสัมพันธ์ของขอบข่ายทั้ง 5 ได้แก่ การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การใช้ (Utilization) การจัดการ (Management) และการประเมิน (Evaluation) ดังแสดงไว้ในภาพและมี




รายละเอียดดังนี้



ภาพที่ 1-1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา (สุมาลี ชัยเจริญ, 2551)


ตารางที่ 1.1 แสดงการเปรียบเทียบองค์ประกอบต่างๆในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

ขอบข่ายหลักและขอบข่ายย่อยของเทคโนโลยีการศึกษา
การออกแบบ
การพัฒนา
การใช้
การจัดการ
การประเมินผล
- การออกแบบระบบการสอน
- การออกแบบสาร
- กลยุทธ์การสอน
- คุณลักษณะของผู้เรียน
- เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์
- เทคโนโลยีด้านโสตทัศน์
- เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
- เทคโนโลยีบูรณาการ
- การใช้สื่อ
- การเผยแพร่นวัตกรรม
- การนาไปใช้สาหรับตนเองและในสถานศึกษา
- นโยบายและกฎระเบียบ
- การจัดการโครงการ
- การจัดการทรัพยากร
- การจัดการระบบขนส่ง
- การจัดการสารสนเทศ
- การวิเคราะห์ปัญหา
- การวัดตามเกณฑ์
- การประเมินระหว่างกระบวนการ
- การประเมินแบบองค์รวม

เทคโนโลยีการศึกษาในโลกแห่งอนาคต






ขอบคุณข้อมูลจาก
ผศ.ดร.อิศรา ก้านจักร สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
www.YouTube.com



เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ
          
           ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทมาก เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล หรือรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดใช่โทรศัพท์เครื่องที่(mobile phone) หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเข้ามาใช้งานในทุกระดับชั้นขององค์กร 



1.      ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
         คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology: IT )เรียกย่อว่า"ไอที"ประกอบด้วยคำว่า"เทคโนโลยี" และคำว่า"สารสนเทศ" นำมาร่วนกันเป็น"เทคโนโลยีสารสนเทศ" และคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communication Technology: ICT ) หรือเรียกย่อว่า"ไอซีที "ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้
เทคโนโลยี( Technology ) หมายถึง การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการและกระบวนการ 
          สารสนเทศ( Information ) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ 
          เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามแผ่นแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 หมายถึง เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล 

2.       องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

          ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานโดยใช่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระบบสารสนเทศประกอบด้วย



2.1 ฮาร์ดแวร์ ( hardware ) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด ( keyboand ) เมาส์ ( mouse ) จอภาพ ( monitor ) เป็นต้น รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น โมเด็ม ( modem ) และ สายสัญญาณ
         2.2 ชอฟต์แวร์ (soflware) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (instruction ) ที่ใช่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ชุดคำสั่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
          ซอฟต์แวร์ระบบ ( system software ) หมายถึงชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น
             1) ระบบปฏิบัติการ ( Operating System: OS ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์( Windowns ) ลินุกซ์ ( Linux ) และ แมคโอเอส ( Mac OS )
              2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ ( utilities program ) เป็นโปรแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือช่วยเสริมการทำงานอื่นๆให้มีความสามารถใช่วานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
            3) โปรแกรมขับอุปกรณ์ หรือดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์ ( device driver ) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์ติดต่อหรือใช่งานอุปกรณ์ต่างๆ
            4) โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นรหัสที่อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ ดังรูปที่ 1.9 ตัวอย่างตัวแปลภาษา เช่น ตัวแปลภาษาจาวา ตัวแปลภาษาซี
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ซอฟต์แวร์ประยุกต์อาจเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น เบสิก (Basic) ปาสคาล (Pascal) โคบอล (Cobol) ซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) และจาวา (Java)
          2.3 ข้อมูล (data) ข้อมูลจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ (scanner) ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (memory unit) ก่อนที่จะถูกย้ายไปเก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) เช่น ฮาร์ดดิสก์ และแผ่นซีดี (Compact Disc: CD)
          2.4 บุคลากร  (people)บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้หมายถึงบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ จะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ใช้ง่ายและสะดวก ส่วนผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้งานระบบสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องจึงจะเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ 

          3. ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3.1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน 
3.2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มตั้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี สามารถค้นคว้าข้อมูลทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI scanner) ถูกนำมาถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง
3.3 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เฃ่น โรงงานสารเคมี โรงผลิตและการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ 
          3.4 ด้านการเงินธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและการธนาคาร โดยใช้ช่วยด้านการบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ และเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์
3.5 ด้านความมั่นคง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวเทียมและการคำนวณวิถีโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบจัดทำทะเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ 
3.6 ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร การเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง 
3.7 ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง
           3.8 ด้านการพาณิชย์ องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กรหรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าทั่วไป สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร 



ขอบคุณข้อมูลจาก

http://flukeloveskb.blogspot.com/2012/06/1.html
www.YouTube.com

เทคโนโลยี

เทคโนโลยี
          


            “เทคโนโลยีหมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน เช่น การเกษตร การแพทย์ อุตสาหกรรม ธุรกิจ และความมั่นคงของประเทศ ต่างก็นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาขาวิชาชีพของตนอย่างเต็มที่อันจะเอื้ออำนวยในด้านต่างๆ ดังนี้ (สุมาลี ชัยเจริญ, 2551)
          1. ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานนั้นถูกต้องและรวดเร็ว มีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นภายใต้ทรัพยากรที่ถูกใช้อย่างจำกัด
          2. ประสิทธิผล (Effectiveness) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีคุณภาพ
          3. ประหยัด (Economy) จะช่วยประหยัดเวลา ทรัพยากร และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้ราคาของผลิตผลนั้นถูกลง
          4. ปลอดภัย (Safety) เป็นระบบการทำงานที่ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น




          ปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนางาน ในหลายวงการ เช่น วงการทหาร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology) นำมาใช้ในการพัฒนางานการผลิตเครื่องมือและวิธีการต่างๆในทางการแพทย์ เรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) ที่ใช้ในการผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology) เช่น การสร้างเครื่องมือสำหรับเกี่ยวข้าว ไถนา หรือนวดข้าว สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัดทั้งแรงงานและค่าใช้จ่าย สำหรับงานด้านธุรกิจ ได้แก่ การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดระบบงานต่างๆ เช่น การเบิกจ่ายเงินธุรกิจธนาคาร อาทิ การฝากถอนเงินด้วยบัตร ATM หรือการโอนเงินด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจน ระบบการผลิตสินค้าในโรงงาน ฯลฯ จากประโยชน์นานัปการที่ได้รับจากเทคโนโลยีที่มีต่อการพัฒนาด้านต่างๆดังกล่าวข้างต้น เช่นเดียวกันทางด้านการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจาเป็นในการนาเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้การดำเนินการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



ขอบคุณข้อมูลจาก 

ผศ.ดร.อิศรา ก้านจักร

สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น